วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Finding Dory ( 2016 ) บทวิเคราะห์ บทความ

Finding Dory ถ่ายทอดอารมณ์ความคำนึงคิดถึงและความเจ็บปวดของการจากบ้านเข้ามาเหยียบในต่างแดนได้ค่อนข้างชัดเจน ผ่านตัวละครหลักเจ้าปลาขี้ลืม ดอรี่

ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว เชื่อว่าหลายต่อหลายคนก็อาจเคยได้เคยสัมผัสถึงอารมณ์เหล่านี้ด้วยตัวท่านเอง เนื่องจากเป็นสิ่งที่สังคมหลายส่วนบนโลกก็ต้องประสบพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นการจากบ้านเข้ามาทำงานหรือศึกษาต่อในเมือง หรือในกรณีที่เลวร้ายที่สุด พลัดหลงอย่างไม่ตั้งใจแบบเจ้าปลาขี้ลืม ดอรี่ี่


ชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของคำว่า 'บ้านและครอบครัว' ซึ่งเป็นสิ่งมีค่ามากที่สุด โดยเฉพาะท่ามกลางการสะท้อนสภาพสังคมที่เร่งรีบ ตัวใครตัวมันในขณะนี้ ชนิดที่แม้แต่เด็กน้อยหลงทางคนหนึ่งก็ยังไม่มีใครแยแส ไม่ต่างไปจากเหล่าปลาทั้งหลายที่ไม่ค่อยจะอยากยื่นมือมาช่วยเหลือปลาน้อยดอรี่ในช่วงเวลาที่เธอต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด ที่ย่ำแย่กว่าคือ แม้ว่าพวกเขาอาจจะไม่ได้ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือเสียทีเดียว แต่การช่วยเหลือส่วนใหญ่ของพวกเขากลับมาในรูปแบบของ 'ขอไปที' หรือ 'ทำแบบเสียมิได้'
ในอีกมิติหนึ่งเจ้าปลาขี้ลืมดอรี่ เจ้าฉลามวาฬสายตาสั้นอย่างเดสทินี่ วาฬเบลูก้าจมูกไม่ค่อยดีอย่างเบลลีย์ และปลาหมึกที่มีเพียงเจ็ดหนวดอย่างแฮงค์ ตัวละครเหล่านี้เป็นหลักฐานชั้นเลิศถึงความพยายามในการให้กำลังใจแก่บุคคลที่อาจเกิดมามีข้อบกพร่องไม่เพรียบพร้อมเหมือนคนอื่นๆหรือมีอดีตอันแสนเลวร้าย ให้สามารถลุกยืนขึ้นมาเดินหน้าต่อไปได้เป็นอย่างดี

พร้อมแสดงให้เห็นว่ากระทั่งพวกเขาเหล่านี้ ก็มีจิตใจและมีความเป็นมนุษย์(หรือมีความเป็นปลา) ต้องการความรัก การเอาใจใส่ไม่ต่างไปจากบุคคลธรรมดาทั่วไป แม้สังคมจะตราหน้าพวกเขาว่าเป็น 'คนป่วย' ต้องถูกรักษาหรือจับเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลเสมือนเหล่าปลาทั้งหลายซึ่งถูกส่งเข้าพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในภาพยนตร์นั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น