วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

The Hobbit : The Desolation of Smaug ( 2013 ) Movie Review

Movie Review
ถึงเวลาของท่านมหาเทพมังกร Smaug แล้ว !!





Movie Name : The Hobbit : The Desolation of Smaug ( 2013 ) , Adventure / Drama / Fantasy
Director : Peter Jackson ( The Lord of The Rings Trilogy )
Stars : Martin Freeman ( Sherlock TV-Series ) , Benedict Cumberbatch ( Sherlock TV-Series , Star Trek : Into Darkness , War Horse ) , Ian McKellen ( X-Men Trilogy , X-Men : Days of Future Past ) , Richard Armitage ( The Hobbit , Captain America : The First Avenger ) , Orlando Bloom ( The Lord of The Rings , Troy ) , Evangeline Lilly ( Real Steel ) , Luke Evans ( The Immortals , Fast 6 ) 
Rating : PG-13



**ผู้เขียนไม่เคยอ่านหนังสือ The Hobbit หรือ อ่านหนังสือ The Lord of The Rings ภาคใดๆ**

REVIEW

                                                              ถ้าหากให้พูดหรือนึกถึงภาพยนตร์ Adventure / Fantasy ซักเรื่องหนึ่งแล้วล่ะก็ รับประกันได้เลยว่า มันจะต้องมีชื่อ The Lord of The Rings โผล่ออกมาเป็นอันดับต้นๆอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเพราะความอลังการ กดดัน เนื้อเรื่องอันเข้มข้นตื่นเต้นของมันแล้ว หลายๆคนคงไม่สามารถที่จะลืมฉากสงครามใหญ่ยักษ์ในภาคสุดท้าย Return of The Kings อย่างแน่นอน โดยหลังจาก The Lord of The Rings ทั้งสามภาคได้ประสบความสำเร็จอย่างมากและได้จบไปเรียบร้อยแล้ว Peter Jackson ก็ได้นำหนังสือที่มีชื่อว่า The Hobbits มาสร้างเป็นภาพยนตร์ ซึ่ง The Hobbits นั้นเป็นผลงานของ J.R.R. Tolkien ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือคนเดียวกับ The Lord of The Rings โดย The Hobbits นั้นเป็นผลงานก่อนหน้า The Lord of The Rings โดยแชร์เรื่องราวและโลกเดียวกันในบางส่วน ซึ่งใน The Hobbits นั้นเรียกได้ว่ามีจุดหนึ่งที่แตกต่างจาก The Lord of The Rings ได้อย่างชัดเจนและแทบจะเป็นปัญหามากๆในการแปลงมาเป็นภาพยนตร์ นั้นก็คือ The Hobbits นั้นมีเพียงแค่เล่มเดียว ที่มีความยาวเพียง 310 หน้าเท่านั้น ในขณะที่ The Lord of The Rings นั้นมีถึง 3 เล่ม แถมการที่ Peter Jackson ผู้กำกับเอามาทำเป็น 3 ภาคเหมือนกับใน The Lord of The Rings อีก และยาวเกือบ 3 ชั่วโมงทุกภาคอีก มันทำให้ยิ่งยากเข้าไปอีก 



สำหรับในภาคแรก The Hobbits : Unexpected Journey นั้น ตัวภาพยนตร์นั้นประสบปัญหากับการเล่าเรื่องอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการยืดยาว อืดอาด ไร้ความน่าสนใจ ที่ทำให้หลายๆคนถึงกับจะหลับ ซึ่งก็น่าจะเดาไม่ยากว่าเป็นผลมาจากการที่ เอาหนังสือ 300 หน้ามาหั่นเป็น 3 ภาค จึงเป็นผลทำให้ไม่สามารถที่จะเล่าอะไรได้มากมายนัก ทำให้ภาคแรกนั้น เรียกได้ว่าเปิดตัวมาไม่สวยเท่าไรนัก ในภาคต่อมา The Desolation of Smaug นั้น หลายๆคนจึงค่อนข้างที่จะตั้งความหวังเอาไว้พอสมควรกับภาคนี้ว่าทุกอย่างจะดีขึ้น และที่สำคัญ ฉากที่ทุกๆคนก็ตั้งความหวังเอาไว้นั้นก็คือฉากมังกรที่ได้ชื่อว่ารวยที่สุดในโลกภาพยนตร์ "Smaug" 


ต้องขอบอกเลยว่าในภาคนี้นั้นหลายๆอย่างได้รับการปรับปรุงและดีขึ้นจากภาคที่แล้วพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเรื่องที่่เข้มข้น น่าสนใจ ในทันที ทันใด (และการเดินกิน Carrot แวบๆนึงของผู้กำกับ Peter Jackson ในฉาก) ฉาก Action ที่มากขึ้นกว่าในภาคที่แล้ว และยังถ่ายทำสร้างออกมาได้ดีเยี่ยมมากๆอีกด้วย เช่น ฉากถังไม้ที่ไหลแล่นไปตามแม่น้ำ ซึ่งเป็นฉาก Action ต่อเนื่องที่ถ่ายได้อย่างยอดเยี่ยม ไหลลื่น ไม่รุ้สึกติดขัด ทั้งๆที่เป็นฉากที่เคลื่อนไหวค่อนข้างจะรวดเร็วตลอดเวลา และเป็นฉากที่สนุกมากๆอีกฉากหนึ่งเลยทีเดียว CG และ Production Design ที่ยังคงสวยงาม อลังการงานสร้าง สมกับเป็น Peter Jackson เช่นเคย นอกจากนั้นในภาคนี้นั้นได้ดาราและตัวละครบางตัวเข้ามาเสริมทัพอย่างเช่น Legolas และ Tauriel ที่สร้างสีสัน ความเข้มข้น ความน่าสนใจ ให้กับตัวภาพยนตร์พอสมควรเลยทีเดียว 



และฉากที่ทุกคนรอคอยและไม่พูดถึงไม่ได้เลยนั้นก็คือฉากท่านมหาเทพมังกร Smaug ที่เรียกได้ว่าน่าจะยาวเกิน 30 นาทีเลยทีเดียวเชียว ซึ่งก็คงจะถูกใจแฟนๆทุกคนเป็นแน่แท้ นอกจากนั้นยังเป็นฉากที่ส่วนตัวคิดว่า เป็นหนึ่งในฉากมังกรที่อลังการที่สุดในภาพยนตร์เท่าที่เคยได้ดูมาเลยทีเดียว ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจมากๆอีกอย่างในฉากนี้นั้นก็คือ มังกร Smaug นั้น เบื้องหลังคนแสดงโดยใช้เทคนิค Motion Capture และพากษ์เสียงให้ก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก Benedict Cumberbatch จาก Star Trek : Into Darkness ของเรานี้เอง ซึ่งเขากับ Martin Freeman ที่แสดงเป็นตัวเอก"บิลโบ"ของเรื่องนั้น ได้เคยเจอและร่วมงานกันมาแล้วใน TV-Series ชื่อดังของเกาะอังกฤษ Sherlock ที่ ณ ปัจจุบันก็กำลังถ่ายทำ Season ใหม่อยู่เลย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการโคจรมาพบกันอย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว 


ถึงแม้จะมีหลายๆอย่างที่ในภาคนี้นั้นทำได้ดีมากขึ้นกว่าภาคเก่า แต่ตัวภาพยนตร์ก็ยังเช่นเคยประสบปัญหากับการเล่าเรื่องอยู่บ้าง เพราะยังมีบางช่วงที่ยังคงอืดอาด ไม่ค่อยน่าสนใจอยู่บ้าง ถึงแม้จะไม่เท่ากับภาคแรกก็ตาม อีกสิ่งที่สำคัญเลยก็คือ ตัว"ภาพ" ในภาพยนตร์นั้น มันเกินตัว"บทภาพยนตร์" ที่จะรับไหว ซึ่งหมายความว่า ภาพในภาพยนตร์นั้น มันช่างสวยงาม อลังการงานสร้าง ในหลายๆฉาก แต่ตัวบทนั้นกลับไม่เข้มแข็งพอที่จะสามารถไปถึงในระดับนั้นได้เลย เช่น ฉากมังกร Smaug ที่ให้ความรู้สึกว่า "ภาพสวย อลังการ" โดยไร้ซึ่งความกดดัน และอารมณ์ร่วมในฉากใดๆเลย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บทไปไม่ถึงระดับของภาพ ที่ไปสูงลิบลิ่วแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่บ้าง เพราะถ้าหากระดับมันเท่ากันแล้วล่ะก็ มันจะทำให้ภาค The Desolation of Smaug น่าจดจำกว่านี้อยู่มาก ถึงกระนั้นนี้ก็อาจจะเป็นเพียงหนึ่งในการเตรียมตัวสู่สงครามและจุดจบที่แท้จริงในภาคสุดท้าย " There and Back Again " ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของชื่อหนังสือ Hobbit ก็เป็นได้



The Hobbit : The Desolation of Smaug เป็นภาพยนตร์ภาคที่สองของภาพยนตร์ชุด The Hobbit ของผู้กำกับ Peter Jackson ที่พัฒนาจากภาคแรกอยู่พอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรื่องหรือบทที่เข้มข้นและน่าสนใจมากขึ้น ฉาก Action ต่อเนื่องหลายฉากที่ถ่ายออกมาได้อย่างลื่นไหลยอดเยี่ยม น่าทึ่ง แม้จะเป็นฉากที่น่าจะถ่ายได้ลำบากก็ตาม ฉากมังกร "Smaug" ที่ทำออกมาได้อลังการสมกับที่หลายๆคนรอคอยจนเรียกได้ว่าเข้าไปหลับทั้งเรื่องตื่นขึ้นมาดูฉาก Smaug ฉากเดียวก็น่าจะคุ้มเอาได้ ถึงแม้ตัวภาพยนตร์จะยังไม่ไปถึงจุดที่พูดได้เต็มปากเต็มคำว่า "น่าจดจำ" ซักเท่าไรนัก แต่ก็ต้องขอชมผู้กำกับ Peter Jackson จริงๆกับการตีความหนังสือเล่มๆเดียวที่มีเพียง 310 หน้า แล้วยังทำออกมาได้ขนาดนี้ และหวังว่าในภาคสุดท้าย There and Back Again ทุกๆอย่างจะจบลงอย่างน่าจดจำ



Final Score [ B+ ] & [ Must See Badge ] 

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Movie Review
อนิเมชั่นหนาวเหน็บเรื่องใหม่จากค่าย Disney !!




Movie Name : Frozen ( 2013 ) , Animation / Adventure / Comedy
Director : Chris Buck ( Tarzan ) , Jennifer Lee 
Stars : Kristen Bell  ( When in Rome ) , Idina Menzel ( Enchanted , Beowulf ) , Jonathan Groff ( C.O.G. ) , Josh Gad ( Jobs ) 
Rating : PG


REVIEW

                                                          ถ้าหากจะให้นึกถึงค่ายภาพยนตร์อนิเมชั่นบนโลกกลมๆใบนี้แล้วล่ะก็ ค่ายภาพยนตร์แรกๆที่คงจะผุดขึ้นมาในหัวหรืออาจจะเป็นค่ายแรกที่คิดถึงเลยก็เป็นได้ คงจะหนีไม่พ้นค่ายน้องหนู Mickey Mouse อย่าง Disney เป็นแน่แท้ ซึ่ง Disney นั้นสร้างผลงานภาพยนตร์อนิเมชั่นชื่อดังและคลาสสิคเอาไว้มากมาย อย่างเช่น Tarzan , Beauty and the Beast , Little Mermaid , Lion King และภาพยนตร์อนิเมชั่นสุดโปรดของผู้เขียน Mulan นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์อนิเมชั่นอื่นๆอีกมากมายที่เรียกได้ว่าสร้างชื่อเสียงมากๆให้กับ Disney จึงเป็นสาเหตุที่ว่าภาพยนตร์อนิเมชั่นของค่ายนี้ มักจะมีคุณภาพเสมอๆ (เพราะถ้าหากออกมาเละเทะ คงโดนแฟนๆและนักวิจารณ์สับเละเทะเช่นกันแน่นอน) ถึงแม้ช่วงหลังๆนี้มานั้นจะขึ้นๆลงๆมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในหลายๆปีที่ผ่านมานี้เช่น Rapunzel หรือ Brave ที่พยายามที่สร้างและทำให้มันเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นระดับ “Classic” อีกเรื่อง ซึ่งก็ไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จเท่าใดนัก ถึงแม้ทั้งสองเรื่องจะไม่ใช่ภาพยนตร์ที่แย่เลยก็ตาม
ซึ่ง Frozenนั้น มีเสียงวิจารณ์บางท่านถึงกับพูดว่าดีเทียบเท่า Beauty and the Beast เลยทีเดียว จึงไม่แปลกที่แฟนๆหลายคนจะตั้งตารอคอยและคาดหวังในระดับหนึ่ง



Frozen นั้นเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นครั้งใหม่ที่เรียกได้ว่า ยกระดับ ภาพยนตร์อนิเมชั่นของตัว Disney เองในขณะนี้ ขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยบทที่สดใหม่ น่าสนใจ  Plot Twisted หรือ จุดหักมุมที่ชาญฉลาดและค่อนข้างที่จะ “Surprise” ผู้เขียนในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ใช่การ Surprise หักมุมแบบเดาไม่ออก เป็นไปไม่ได้เลยก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจและสดใหม่สำหรับ Frozen เลยก็คือ โครงสร้างของบทภาพยนตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าเก่า ยกตัวอย่างเช่น Rapunzel กับ Brave ซึ่งแยกแทบจะชัดเจนมากๆว่า ตัวเอกมีเพียงตัวเดียวอย่างใน Brave หรือเป็นคู่รักผจญภัยคู่เดียวอย่างใน Rapunzel และตัวร้ายที่ค่อนข้างจะชัดเจนทั้งคู่ ซึ่งใน Frozen นั้นแตกต่างจากการที่มีตัวละครหลักถึงสองตัวและเป็นสองตัวละครหลักที่เป็น พี่น้องไม่ใช่คู่รัก คู่เลิฟอีกต่อไป ซึ่งเมื่อตัวภาพยนตร์นั้นได้วาง จุดขัดแย้งหรือ Conflict ลงไปในสองตัวละครนี้แล้ว มันได้สร้าง มุมมองใหม่ ให้กับตัวภาพยนตร์อย่างมาก จากที่เราได้มองโลกในภาพยนตร์เพียงมุมเดียวอย่างใน Rapunzel หรือ Brave แล้ว ใน Frozen นั้นเราจะได้มองโลกในภาพยนตร์ถึงสองมุมจาก มุมมอง ความคิดต่างๆจุดขัดแย้งที่เหมือนกัน และไม่เหมือนกัน ของแต่ละตัวละครเลยทีเดียว ยังไม่รวมถึง Sub Plot หรือ บทรองที่ยังคงไม่ลืมจะใส่เรื่อง ความรัก หนุ่ม-สาวมาเช่นเคย ซึ่ง Plot เหล่านี้นั้นได้รับการเขียน คิดพิเคราะห์มาเป็นอย่างดีเยี่ยมจริงๆ เพราะมันช่างน่าสนใจ และ เป็นอะไรที่ Disney ก้าวขึ้นมาอีกระดับหนึ่งอย่างน่าทึ่ง


อีกสิ่งสำคัญมากๆในภาพยนตร์อนิเมชั่นของ Disney ที่ถ้าขาดไป นี้คงจะไม่ใช่อนิเมชั่นของ Disney เป็นแน่แท้ นั้นก็คือ ร้องเพลง ซึ่งยังคงบทเพลงอันแสนไพเราะ จับใจ และยังคงประสานระหว่าง เพลง และ ภาพในฉากต่างๆได้อย่างชาญฉลาดเช่นเคย ซึ่งใน Frozen ค่อนข้างที่จะสังเกตได้ว่ามีการเล่นกับองค์ประกอบภาพมากระดับหนึ่งเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆในฉาก เงา แสงต่างๆ และบางครั้งมันสร้างความหมายให้กับฉากได้อย่างน่าทึ่ง และ น่าจดจำไม่ใช่น้อย ซึ่งจากการที่ภาคนี้นั้น มีโครงสร้างตัวละครหลักถึงสองตัว มันก็ยิ่งทวีคูณความน่าสนใจ และความไพเราะในฉากร้องเพลงขึ้นไปอีกเท่าตัว เนื่องจากการร้องตัดกันไปมาของสองตัวละครหลัก ที่หลายๆครั้งความคิด อารมณ์ และบทร้องช่างสวนทางกันไปมาได้อย่างไพเราะ และจับใจ 


จุดสำคัญต่อมาเลยนั้นก็คือ อารมณ์ขัน”ในภาพยนตร์ ซึ่งใน Frozen นั้นก็ได้เป็นเจ้าตุ๊กตาหิมะ Olaf (คงไม่ใช่จากเกม League of Legends หรอกนะ) ซึ่งต้องขอชมเลยว่า Disney ประสบความสำเร็จอย่างมากกับตัวละครนี้ เพราะนอกจากความน่ารัก น่าหยิก และมุขตลกสุดแสนฮาที่มีลูกเล่นที่แสนฉลาดของมันแล้ว มันยังโขมย Scene หลายๆ Scene ไปได้อย่างง่ายดาย และคงได้ขโมยหัวใจผู้ชมไปหลายๆคนแล้วเช่นกัน ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ Disney และผู้กำกับหวังเอาไว้มากที่สุดจากตัวละครนี้ สุดท้ายนี้ นั้นก็คือ CG ที่ยังคงสวยงาม อลังการ สร้างอารมณ์ร่วม เช่นเคย ถึงแม้จะไม่รู้สึกว่ามันเป็นการใช้ CG ที่เปลี่ยนแปลงมากเท่าไรเลยของ Disney ก็ตาม



ถ้าหากมีคนถามผู้เขียนว่า เห็นด้วยไหมกับคำพูดที่กล่าวกันมาว่า Frozen เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องใหม่ของ Disney ที่  Classic เทียบเท่ากับ Beauty and the Beast” ผมคงตอบใน ณ ที่นี้เลยว่า ไม่ครับ เพราะอย่างน้อยก็สำหรับตัวผู้เขียนเองแล้ว ยังมีบางสิ่งบางอย่างที่ Frozen ยัง ทำได้ไม่ดีพอ และยังคงห่างไกลกับภาพยนตร์สุดแสนคลาสสิคครองใจคนมายาวนานอย่าง Beauty and the Beast  เช่น การเล่าเรื่องในช่วงแรกของภาพยนตร์ที่เร่งมากจนเกินไป พอที่จะเข้าใจว่า ทางผู้กำกับคงอยากที่จะให้ตัวภาพยนตร์นั้นเข้าเรื่องหลักเร็วๆมากขึ้น แต่การเล่าเรื่องในช่วงแรกที่รวดเร็วมากจนเกินไปเช่นนั้น มันทำให้ความผูกพันธ์ระหว่างตัวละครกับผู้ชมลดลงพอสมควร ทั้งๆที่ในช่วงท้ายบางช่วงของภาพยนตร์ดันกลับรู้สึกช้าจนน่าเบื่อไปเสียนั้น จุดต่อมาเลยก็คือ การสับ จัดวาง เล่าเรื่อง ระหว่างบทหลัก และบทรองของภาพยนตร์ที่ยังโลเล สับสน โดยความสัมพันธ์ของพี่น้องที่ควรจะเป็นแกนหลักของภาพยนตร์ แต่ในบางครั้งกลับรู้สึกว่า ความสัมพันธ์รักๆใคร่ๆของหนุ่มสาว กลับเบียดบทหลักเข้ามาแทนที่เป็นแกนหลักของภาพยนตร์เสียอย่างนั้น จากการที่ตัวภาพยนตร์ในหลายๆช่วงโฟกัสการเล่าเรื่องไปที่จุดความรักหนุ่ม-สาว มากกว่าตัวความรักของพี่น้อง ซึ่งผลของมันก็คือ มันทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกเอาใจช่วย หรือ เข้าถึงตัวละครหลักที่ควรจะเป็นแกนกลางอย่างสองพี่น้องเท่าที่ควรจะเป็นอย่างน่าเสียดาย จุดสุดท้ายนั้นก็คือ ฉาก Climax หรือ ฉากสุดท้ายที่น่าจะทำได้ดีกว่านี้ เพราะมันกลับเป็นฉาก Climax ที่ทำให้รู้สึกเพียงแค่ตกใจกับจุดหักมุมของมัน มากกว่าที่จะรู้สึกประทับใจไปกับมัน ซึ่งส่วนหนึ่งคงจะเป็นผลมาจากบทที่พยายามจะหักมุม มากจนเกินไป จนลืมสิ่งที่ทำให้ Climax เป็น Climax ที่แท้จริง Climax หรือฉากที่เป็นจุดนำไปสู่จุดจบ/บทสรุปของภาพยนตร์นั้น ควรจะเป็นฉากที่สร้าง"ความประทับใจบางอย่าง" ให้กับผู้ชม เช่น ประทับใจในความอลังการของมัน , ประทับใจในการกระทำของตัวละครซึ่งส่งผลไปถึงจุดจบของภาพยนตร์ อื่นๆอีกมากมาย มากกว่าเป็นเพียงแค่จุดอีกจุดหนึ่งที่ทำได้แค่เพียง ตกใจ หักมุม และไม่รู้สึกประทับใจหรือจับใจอะไรเลยกับมัน ซึ่งนี้ก็เป็นเหตุผลที่ทำไม Frozen ในความคิดของผู้เขียนนั้น ยังคงเป็นภาพยนตร์ที่ไม่สามารถก้าวไปถึงจุด Classic ได้ แต่ก็ไม่อาจที่จะปฏิเสธได้เช่นกัน ว่า Frozen เป็นภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมอีกเรื่องหนึ่ง



Frozen เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นของค่าย Disney ที่ในท้ายที่สุด ยังคงไม่หนาวเหน็บมากพอที่จะเกาะติดจับใจผู้ชมได้อย่างที่คาดหวังไว้ แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้เช่นกัน ว่านี้คือผลงานที่กล้าหาญของ Disney ในการที่จะสร้างและคิดสิ่งใหม่ที่แปลกออกไป ถึงแม้มันจะไม่สำเร็จไปทุกส่วนก็ตาม 



Final Score [ B + ] & [ Must See Badge ]

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Snowpiercer ( 2013 ) Movie Review

Movie Review
การนั่งรถไฟแห่งโลกมนุษย์ที่น่าจดจำมากที่สุด



Movie Name : Snowpiercer ( 2013 ) , Action / Drama / Sci-Fi
Director : Joon-ho Bong ( The Host , Mother , Barking Dogs Never Bite )
Stars :  John Hurt ( Tinker,Tailor,Solider,Spy , Harry Potter ) , Chris Evans ( Captain America : The First Avenger , The Avengers ) , Tilda Swinton ( Constantine , Narnia ) , Ed Harris ( Pain & Gain , The Rock ) , Jamie Bell ( The Adventures of Tin Tin , Jumper ) , Octavia Spencer ( The Help ) , Kang-ho Song ( The Host ) , Ah-sung Ko ( The Host ) 
Rating : น 15 + 


                                     Snowpiercer เป็นภาพยนตร์ที่พูดถึงเรื่องราวหลังจากโลกเข้าสู่ยุคที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและหิมะด้วยฝีมือของมนุษย์เอง ทำให้ผู้ที่รอดชีวิตจำนวนน้อยมากต้องเข้าไปอาศัยอยู่ในรถไฟขบวนหนึ่ง ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างผู้ที่มีอำนาจกับผู้ไร้อำนาจ เส้นที่ขั้นกลางระหว่างพวกเขานั้นช่างบางลงๆทุกวัน และความอดทน อดกลั้นนั้นอาจจะมาถึงจุดขีดจำกัดในไม่ช้า


REVIEW



                                                          Snowpiercer เป็นภาพยนตร์ที่คงพูดได้เลยว่าเป็นการผสมผสานระหว่างภาพยนตร์เกาหลีและภาพยนตร์ Hollywood ได้อย่างน่าทึ่งเรื่องหนึ่ง ซึ่งสาเหตุนั้นแรกนั้นก็มาจากผู้กำกับ บองจุนโฮ ที่เป็นคนเกาหลีใต้ แต่ในภาพยนตร์กลับมี Production และองค์ประกอบบางส่วนที่ค่อนข้างจะไปทาง Hollywood อยู่พอสมควร ยังไม่รวมถึงการที่เขาเขียนบทด้วยตัวเองร่วมกับคนอเมริกันอีกคนหนึ่งซึ่งก็น่าจะเชื่อได้ว่า มีการผสมผสานความคิดไอเดียต่างๆเข้าไปรวมกันอยู่ไม่น้อย



สำหรับผู้กำกับ บองจุนโฮนั้น เรียกได้ว่าเขาเป็นผู้กำกับที่มีความสามารถมากที่สุดอีกคนในโลกภาพยนตร์เลยทีเดียว จากผลงานอย่างเช่น Barking Dogs Never Bite , The Host ( ที่ไม่ใช่ The Host จากผู้เขียน Twilight ) หรือ ภาพยนตร์อย่างเรื่อง Mother ซึ่งภาพยนตร์เหล่านี้มีความแปลกประหลาดอยู่ตรงที่ หน้าหนังนั้นดูจะเป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีอะไร อย่างเช่น Barking Dogs Never Bite ที่พูดถึงผู้ชายคนหนึ่งที่รำคาญเสียงสุนัขเห่า ก็เท่านั้นเอง แต่เมื่อเราเข้าไปสัมผัสมันจริงๆแล้ว กลับทำให้รู้ว่า ภาพยนตร์ที่ดูจะไม่มีอะไรเหล่านี้ กลับแฝงไปด้วยการจิกกัด เสียดสีสังคมได้อย่างน่าทึ่งมากๆ ซึ่งหลายๆครั้งที่เขาทำให้ภาพยนตร์ที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร ให้กลายเป็นภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมได้ จึงเป็นสาเหตุที่นักชมภาพยนตร์หลายๆคน ค่อนข้างที่จะตั้งความหวังกับภาพยนตร์เรื่องนี้พอสมควรเลยทีเดียว


Snowpiercer เป็นภาพยนตร์ที่ต้องขอเริ่มพูดเลยว่า เป็นภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง และ หน้าหนัง อีกครั้งดูเป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีอะไรเลย แถมเอาเข้าจริงมันช่างดูเป็นภาพยนตร์เกรด B เหลือเกิน โดยเฉพาะการพูดถึง คนรวย/คนจน ที่พูดกันมาเป็นพันรอบ และในปีๆหนึ่งก็มีภาพยนตร์ที่พูดถึงเรื่องนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว ล่าสุดที่ไม่ต้องยกตัวอย่างทุกคนก็น่าจะนึกออกนั้นก็คือ The Hunger Games : Catching Fire นั้นเอง ซึ่งผลของการนำสิ่งเดิมๆมาทำอีกรอบมันก็จะทำให้ความน่าสนใจลดน้อยลง  แต่มันกลับไม่ใช่เช่นนั้นเลย ซึ่งต้องขอยกเครดิต ความดี ความชอบให้กับผู้กำกับ บองจุนโฮ 90% ถึง 99% เลยทีเดียว ที่พิสูจน์อีกครั้งว่าเขาสุดยอดแค่ไหน กับการเนรมิตและสร้างภาพยนตร์ที่ดูสุดแสนจะกลวงไม่น่าสนใจ ให้เป็นภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งในปีนี้


สิ่งที่พบเห็นได้อีกครั้งอย่างขาดไม่ได้จากลายเซ็นของผู้กำกับนั้นก็คือ การจิกกัด เสียดสีในและพูดถึงประเด็นต่างๆของสังคมอย่างชาญฉลาด แยบยล มีชั้นเชิงเช่น สังคมล้างสมองของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก ความมักง่ายและโง่เขลาของมนุษย์ ความรุนแรง มนุษย์กับพระเจ้า และอื่นๆอีกมากมาย ทำให้พูดได้เลยว่าการออกแบบในแต่ละฉากนั้นถูกเลือกมาเป็นอย่างดีเยี่ยมแล้ว เพราะแทบจะทุกครั้งที่มันมักจะแฝงความหมายและเสียดสีอะไรบางอย่าง ไม่ใช่เลือกหรือสร้างมาอย่างไร้เหตุผล 



เช่นเดียวกับการกำกับของบองจุนโฮที่ยังคงยอดเยี่ยมเช่นเคย ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรื่องที่ช่างน่าสนใจโดยการค่อยๆให้จิ๊กซอว์กับผู้ชมไปคอยเดา คอยต่อเอาเอง แทนที่บอกทั้งหมดเหมือนภาพยนตร์ทั่วๆไป ถึงแม้ในช่วงต้นของภาพยนตร์จะช้ามากจนเกินไปบ้างก็ตาม ซึ่งเมื่อภาพยนตร์ดำเนินไปเรื่อยๆแล้ว ผู้ชมก็จะได้จิ๊กซอว์เพิ่มไปเรื่อยๆจนในท้ายที่สุดคุณก็จะเข้าใจว่าภาพยนตร์พูดถึงอะไร และทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องที่ทำให้ผู้ชมต้องคิดตามอยู่แทบจะตลอดเวลา หรือจะเป็นการถ่ายภาพยนตร์ในฉากต่างๆที่มีการเล่นกับแสง และเงา หรือองค์ประกอบต่างๆในฉากเพื่อใช้สื่อความหมายได้อย่างน่าทึ่ง
ถึงกระนั้น เขาก็ไม่ลืมที่จะใส่มุขตลกขบขัน และฉากลูกเล่นต่างๆ เช่นฉากแนะนำตัวละคร Wilford หรือฉากในห้องสอนหนังสือ เหล่านี้เข้าไปเพื่อให้ภาพยนตร์นั้นไม่รู้สึกไม่น่าสนใจ หรือ น่าเบื่อ ซึ่งมุขตลกและฉากลูกเล่นต่างๆเหล่านี้ ไม่เพียงแต่สร้างความบันเทิงและทำให้ภาพยนตร์น่าสนใจอยู่ตลอดเวลาด้วยแล้ว ฉากเหล่านี้หรือคำพูด Dialog เหล่านี้ก็แฝงไปด้วยความหมาย การเสียดสี จิกกัดเช่นเคย 


อีกสิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่าน่าสนใจ และน่าชื่นชม ใน Snowpiercer นั้นก็คือทีมนักแสดงโดยเฉพาะ ป้า Tilda Swinton ที่ทุกๆคนคงจะรู้จักเธอจากบทแม่มดขาวแห่ง Narnia ที่เธอแสดงได้อย่างน่าทึ่ง สร้างสีสันและคาแรคเตอร์ที่สดใหม่มากๆให้กับภาพยนตร์ และคนที่ไม่พูดถึงเลยไม่ได้นั้นก็คือ Chris Evans จากบทอันโด่งดัง กัปตันอเมริกา ที่ต้องขอสารภาพเลยว่าครั้งแรกที่เห็นเขาบนโปสเตอร์ ทำให้นึกถึง Hugh Jackman หรือ พี่วูฟเวอรีนของเรา มากๆ ซึ่งทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ทางสูตดิโอไม่มีเงินจ้าง Hugh หรืออย่างไร เลยทำเช่นนี้ แต่เมื่อได้ชมภาพยนตร์จริงๆกลับคิดคนละอย่างกับที่คิดไว้ในตอนแรกอย่างมาก โดยคิดว่า Chris Evans นั้นช่างเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากกว่าใครๆเลยทีเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นการแสดง บุคลิกของเขานั้นเหมาะกับสิ่งที่ตัวภาพยนตร์ต้องการจะพูดถึงมาก ซึ่งตัวละครของเขาในภาพยนตร์นั้นก็เป็นตัวแทนไม่ใช่อะไรอื่นนอกจาก "มนุษย์" ผู้ซึ่งเต็มไปด้วย ความโกรธ , ความโง่เขลา , ความรุนแรงบ้าคลั่ง , ความน่าสมเพศ , ความโศรกเศร้า แต่ก็ยังคงมี ความบริสุทธิ์ และ ความดีงาม แฝงอยู่ภายในเช่นกัน ซึ่ง Chris Evans นั้นแสดงได้อย่างดีเยี่ยมมากๆในบทนี้



Snowpiercer เป็นภาพยนตร์ที่เมื่อดูจบแล้วทำให้นึกถึงเรือของโนอาและอดัมกับอีฟอย่างมากเนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ช่างเป็นเหมือนการนั่งรถไฟท่อง"โลกมนุษย์"ที่แท้จริงซึ่งนำทางไปสู่จุดจบที่น่าจดจำมากที่สุดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอีกครั้งก็ต้องขอชมทีมงาน นักแสดงต่างๆและโดยเฉพาะสำคัญที่สุด ผู้กำกับบองจุนโฮ ที่นับได้ว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมอีกครั้งจากเขา ถึงแม้ตัวภาพยนตร์จะประสบปัญหากับการดำเนินเรื่องช้ามากจนเกินไปบ้างในช่วงต้นของภาพยนตร์ หรือ ฉาก Action ที่เต็มไปด้วย เทคนิคสั่นกล้องที่น่ารำคาญไม่น้อย ก็ไม่ได้ทำให้คุณภาพของมันลดลงไปซักเท่าไรเลย


Final Score : [ A ] & [ Must See Badge ] 

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Mary is Happy , Mary is Happy ( 2013 ) Movie Review

Movie Review
บะหมี่ถ้วยที่ดูเหมือนจะเอร็ดอร่อย



Movie Name : Mary is Happy , Mary Is Happy ( 2013 ) , Drama
Director :  เต๋อ นวพล




REVIEW

                                                        Mary is Happy , Mary is Happy เป็นภาพยนตร์ที่เรียกได้ว่ามีหน้าหนัง ไอเดียและความคิดที่แลดูเหมือนจะแปลกใหม่มากๆเรื่องหนึ่ง เนื่องจากแทบจะพูดได้เลยว่า น่าจะเป็นภาพยนตร์ที่นำเอาข้อความจาก Social Media สุดฮิตอย่าง "Twitter" มาสร้างเป็นภาพยนตร์เป็นเรื่องแรกในโลก ด้วยการเล่าเรื่อง เรียงตามลำดับข้อความอย่างเที่ยงตรงและไม่มีการเจือปนโดยการแก้คำผิดหรือเรียงลำดับข้อความใหม่แต่อย่างใด โดยข้อความที่นำมาเล่าเรื่องนั้น เป็นข้อความของ @marylony  ซึ่งเป็นคนไทยนั้นเอง ในการเล่าเรื่องในภาพยนตร์นั้น ก็จะเป็นไปตามลำดับข้อความที่เธอทวิตขึ้นมาจริงๆ ไม่ได้มาจัดเรียงลำดับใหม่แต่อย่างใด ซึ่งมันสร้าง"มิติ" ใหม่ให้กับภาพยนตร์ได้อย่างดีเยี่ยม 



Mary is Happy , Mary is Happy เป็นภาพยนตร์ที่เรียกได้ว่า"แปลกแยก"ไปจากภาพยนตร์วัยรุ่นส่วนใหญ่พอสมควรเลยทีเดียว เนื่องจากการกระโดดอารมณ์ของภาพยนตร์ที่ไปกันคนละทิศคนละทางในแต่ละช่วงอย่างน่าทึ่ง ในองค์แรกของภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยความ "Spectacle"ยิ่งใหญ่ โอเวอร์ในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นมุขตลกต่างๆ เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งคล้ายคลึงกับภาพยนตร์วัยรุ่นทั่วๆไป แต่ในช่วงกลางถึงท้ายเรื่องตัวภาพยนตร์กลับเต็มไปด้วยการกระโดดไปมาของอารมณ์ต่างๆอย่างเช่น บางฉากที่มีความ Realist ความสมจริง และในบางฉากอยู่ดีๆตัวภาพยนตร์ก็กระโดดไปเป็น Surreal เหนือจริง เสมือนฝันอย่างหน้าตาเฉย ซึ่งนี้น่าจะเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า เป็นความน่าพิศวงของ Social Media เนื่องจากเวลาที่เราใช้ Social Media นั้น ในบางครั้ง เราก็เขียนข้อความอะไรลงไป โดยที่หาเหตุผลไม่ได้ ในบางครั้งเราก็ตั้งคำถามกับตัวเราเอง ว่าเราเขียนข้อความนั้นไปทำไม เพื่ออะไร โดยที่ในท้ายที่สุด ก็หาคำตอบไม่ได้ ซึ่งเป็นจุดที่เป็น "มนตร์เสน่ห์" ของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อย่างดีเนื่องจากความเป็น Social Media ของมัน


นอกจากนั้น Mary is Happy , Mary is Happy ยังเป็นภาพยนตร์ที่มีประเด็นที่น่าสนใจเช่นกัน ซึ่งพูดถึงความ"ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง" ของการศึกษาไทย การแดกดัน ประชดประชัน ซึ่งหลายๆครั้งที่มันแอบแฝงอยู่ในมุขตลกที่เสมือนกับเป็น "Black Comedy"หรือตลกร้ายต่อสังคมไทย สิ่งที่น่าสนใจมากๆจุดหนึ่งของภาพยนตร์นั้นก็คือ การตั้งคำถามต่อหลายๆสิ่งหลายๆอย่างของตัวละครหลัก Mary ที่มักจะสงสัยและพยายามหาเหตุผลให้กับตัวเอง เช่น การที่สงสัยว่า เวลาเราเดินไปทางซ้ายของรางรถไฟ มันคือสิ่งที่ถูกกำหนดมาแล้วให้เราเดินไปทางซ้ายรึเปล่า ? แล้วถ้าหากเราเดินไปทางขวาล่ะ ? ซึ่งในแทบทุกครั้งเธอก็มักจะหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งในส่วนนี้ และในส่วนความเป็น Social Media มันทำให้ผู้เขียนนึกถึงภาพยนตร์เรื่องๆหนึ่งของสองพี่น้องโคเอน นั้นก็คือ " No Country For Old Men " ที่พูดถึงความ"ไร้เหตุผล"ของมนุษย์และสิ่งต่างๆบนโลก ซึ่งมันคล้ายคลึงกับหลายๆส่วนในภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นการหาเหตุผลไม่ได้ ว่าทำไมการเขียนข้อความลง Twitter ของ Mary นั้นมีการข้ามหรือกระโดดอารมณ์อย่างมากในหลายๆครั้ง การหาคำตอบจากคำถามของตัวละครในภาพยนตร์ไม่ได้ว่าทำไมหลายๆอย่างบนโลกมันถึงเป็นเช่นนี้ ซึ่งในอีกแง่หนึ่งมันก็อาจจะเป็นการเสียดสีการศึกษาไทย ที่ไม่เคยให้เหตุผล ว่าทำไมเราถึงต้องเรียนวิชานี้ เรียนไปแล้วได้อะไร ทำไมเราถึงต้องเรียนเรื่องนี้ ทำไมเราถึงจะต้องสอบ ซึ่งการศึกษาไทยส่วนใหญ่ไม่เคยที่จะสอนและให้เหตุผลกับเรื่องเหล่านี้และในหลายๆเรื่องเลย ในบางครั้งกลับกีดกันและลงโทษคนที่กล้าพอที่จะลุกขึ้นมาตั้งคำถามกับมัน ซึ่งในท้ายที่สุดผลมันก็คือตัวละครอย่าง Mary ในภาพยนตร์ที่ไม่เข้าใจและพยายามที่จะหาเหตุผลกับมัน


น่าเสียดายที่ภาพยนตร์เรื่อง Mary is Happy , Mary is Happy ยังคงประสบปัญหาในหลายๆด้าน เช่น การเล่าเรื่องในช่วงกลางถึงท้ายเรื่องที่ช่างไร้ความน่าสนใจ หลงทาง ซึ่งหนึ่งในเหตุผลก็น่าจะมาจากการเปิดเรื่องในช่วงแรกของภาพยนตร์ที่มีความ "Spectacle" ความยิ่งใหญ่ ความโอเวอร์ มากจนเกินไปไม่ว่าจะเป็นในมุขตลกต่างๆ ในเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ ซึ่งความ Spectacle ในช่วงแรกนี้ มันทำให้ผู้ชม "ตั้งความคาดหวัง" ว่าภาพยนตร์จะเป็นไปในแนวทางนี้ตลอด แต่ในช่วงกลางถึงท้ายเรื่องมันกลับไปกันคนละทิศคนละทางซึ่งไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ยังไม่รวมถึงการที่ประเด็นที่พูดถึงในช่วงกลางถึงท้ายเรื่องที่ ซ้ำซาก จำเจ ไม่มีอะไรใหม่ คาดความน่าสนใจไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งผลของมันก็คือทำให้ผู้ชมรู้สึก "Disconnect" กับภาพยนตร์แทบจะสิ้นเชิง 


สิ่งที่น่าสนใจมากๆอีกเรื่องหนึ่ง นั้นก็คือการที่ผู้ชมหลายๆท่านนั้น พูดว่าภาพยนตร์เรื่อง Mary is Happy , Mary is Happy นั้น มีโครงสร้างภาพยนตร์ที่แปลกใหม่ ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ซึ่งในความคิดของผู้เขียนนั้นกลับไม่มองเช่นนั้นเลย กลับมองว่า ภาพยนตร์เรื่อง Mary is Happy , Mary is Happy เป็นภาพยนตร์ที่ยังคงความเป็น "Narrative" การเล่าเรื่อง โครงสร้าง และ องค์ต่างๆในภาพยนตร์ที่ไม่แตกต่างไปจากภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ เพียงแต่ว่ามันใส่ความเป็น Social Media และ ความเป็น Twitter ลงไปเพื่อให้ดูเหมือนกับว่ามันเป็นโครงสร้างใหม่ก็เท่านั้นเอง



Mary is Happy , Mary is Happy  เป็นภาพยนตร์ที่น่าชื่นชมในความพยายามที่จะสร้างสิ่งใหม่ ให้กับวงการภาพยนตร์ โดยเฉพาะวงการภาพยนตร์ไทย แต่ในตัวภาพยนตร์เองนั้นก็ยังประสบปัญหากับการเล่าเรื่อง ไอเดีย ความคิดต่างๆในภาพยนตร์เองที่ก็ไม่ใช่อะไรแปลกใหม่ ซึ่งในท้ายที่สุดมันก็เป็นเพียงภาพยนตร์ที่ยังคงโครงสร้างของภาพยนตร์ที่ซ้ำซาก จำเจ ไอเดีย ความคิดที่ไม่มีอะไรแปลกใหม่ เพียงแต่ใส่ผงชูรสอย่างความเป็น Social Media และ Twitter ลงไป ซึ่งเปรียบเสมือนกับบะหมี่ถ้วยที่ยังคงเป็นเส้นเดิมๆ เนื้อเดิมๆ ชามเท่าเดิมแบบเดิม เพียงแค่ใส่ผงชูรสเข้าไปให้มันดูเอร็ดอร่อยก็เท่านั้น



Final Score : [ C+ ] 

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

No Country For Old Men ( 2007 ) Movie Review ** Contain Spoiler **

Movie Review
อีกหนึ่งผลงานอันยอดเยี่ยมของสองพี่น้องโคเอน



Movie Name : No Country For Old Men ( 2007 ) Crime / Drama / Thriller  [ Won 4 Oscar ]
Director : Ethan Coen , Joel Coen ( รวมถึงเขียนบทร่วมกัน )
Stars : Josh Brolin ( True Grit , Jonah Hex ) , Tommy Lee Jones ( Men In Black ) , Javier Bardem ( Skyfall ) 
Rating : R ( มีฉากที่รุนแรง , เนื้อหาที่รุนแรง )






REVIEW

                                                     No Country For Old Men เป็นภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่ง ที่ได้รับการพูดถึงในวงของนักวิจารณ์ภาพยนตร์ หรือแม้กระทั่งผู้ชมภาพยนตร์หลายๆคนอยู่ ถึงแม้ตัวภาพยนตร์จะสร้างและออกฉายมานานตั้งแต่ปี 2007 แล้วก็ตาม ด้วยความเป็น "Masterpiece" ของมันจึงทำให้ไม่สงสัยเลยที่ทำไมมันยังคงเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการกล่าวขวัญกันอยู่ถึงทุกวันนี้



No Country For Old Men เป็นผลงานที่เรียกได้ว่า ชิ้นโบว์แดง ของสองพี่น้องโคเอน ที่หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรางวัลมากมาย รวมถึงเสียงวิจารณ์ที่ชมแล้วชมอีก จากต่างประเทศ จึงทำให้ทั้งสองพี่น้องมีผลงานต่อๆไปหลายๆเรื่องในปีถัดๆมา เช่น True Grit ที่ได้ Jeff Bridges เป็นดารานำแสดง , A Serious Man หรือภาพยนตร์ในปี 2013 นี้อย่าง Inside Llewyn Davis 


No Country For Old Men  นั้น วินาทีแรกที่ตัวภาพยนตร์เปิดตัวขึ้น จนจบภาพยนตร์นั้น ตัวภาพยนตร์ช่างมีความ "Intense" แรงกดดัน ถาโถมเข้ามาประทังใส่คนดูอย่างมากตั้งแต่วินาทีแรกของภาพยนตร์ และแรงกดดันนี้ มันไม่มีช่วงใดเลยในภาพยนตร์ ที่มันจะหายไปเลย หลายๆสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็น่าจะมาจาก ลายเซ็นของสองพี่น้องโคเอน อยู่แล้ว ที่เรียกได้ว่า เป็นสองพี่น้องที่"ไม่ค่อยชอบปรุงแต่ง" ในภาพยนตร์ซักเท่าไรนัก อย่างเช่นการใช้เสียงประกอบเป็นเสียงจากในสถานที่จริงๆ ไม่ใช้เสียง Soundtrack ชนิดที่เป็นเพลงเพื่อสร้างอารมณ์ หรือการตัดต่อในแต่ละ Scene แบบฉูดฉาดมากจนเกินไป ผลของมันก็คือ มันทำให้ตัวภาพยนตร์นั้นมีความ Realistic หรือ สมจริงมากขึ้นอย่างมหาศาล พร้อมกับแรงกดดันอย่างอัตโนมัติ เนื่องจากความสมจริงของมัน  ยังไม่รวมถึงเนื้อหาของภาพยนตร์ที่ตัวมันเองโดดๆก็ช่างกดดันมากๆพอตัวอยู่แล้ว และเทคนิคต่างๆในภาพยนตร์อื่นๆเช่น โทนสีของภาพยนตร์ในทุกๆฉากที่ถูกเลือกสรรค์มาเป็นอย่างดี การวางองค์ประกอบภาพที่น่าทึ่ง ถึงแม้ในบางครั้งมันจะนำทางผู้ชมมากไปหน่อยก็ตาม


อีกหนึ่งเรื่องที่น่าชื่นชมมากๆของสองพี่น้องโคเอนใน No Country For Old Men คือการเล่าเรื่องที่น่าทึ่ง การตัดต่อที่ไม่ทำให้รู้สึก "Disconnect" หรือไม่รู้สึกเชื่อมต่อกัน การตัดต่อของพวกเขานั้น ช่างไหลลื่น เชื่อมต่อกันระหว่าง 3 ตัวละครหลักได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมยังเล่าเรื่องของพวกเขาในเวลาเดียวกันได้อีก อีกสิ่งหนึ่งที่ทั้งสองพี่น้องทำได้อย่างยอดเยี่ยมมากในภาพยนตร์ก็คือ การสื่อสารกับคนดูโดยใช้"ภาษาภาพยนตร์" ทางภาพ มากกว่าใช้คำพูด เสียง หรือตัวละครอื่นๆบอก ใน 1 ชั่วโมงแรก ของภาพยนตร์นั้น ตัวละครทั้ง 3 ตัวนั้นพูดน้อยมาก และหลายๆฉากที่ไม่มีเสียงพูดเลยหลายนาที แต่ 1 ชั่วโมงนี้ กลับเล่า Character ของตัวละครได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย น่าทึ่ง และมันทำให้คนดู"เชื่อ"โดยที่ไม่ต้องมีตัวละครไหน หรือมีเสียงไหนมาบอก



ยังไม่รวมถึงทั้งสามดาราระดับแถวหน้าของ Hollywood ที่มาประชันบทบาทกันไม่ว่าจะเป็น Josh Brolin , Tommy Lee Jones และที่สำคัญและเป็นตัวชูโรงที่สุด Javier Bardem จาก Skyfall นั้นเอง Javier Bardem นั้นต้องขอชมจริงๆเลยว่าเขาแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม น่าทึ่ง หยุดทุกลมหายใจ จนทำให้รู้สึกว่า เราคงจะไม่มีวันลืมตัวละครนี้และบทบาทนี้ของเขาไปแน่นอน โดยเฉพาะในฉากร้านขายของในช่วงต้นเรื่องของภาพยนตร์ ที่เขาแสดงได้อย่างยอดเยี่ยมจนความตึงเครียดในฉากนั้นมันพุ่งทวีคูณ 3-4 เท่า และทำให้หัวใจของคนดูเต้นไม่เป็นจังหวะ ในฉากๆเดียว ทั้งๆที่ในฉากนั้นดูผิวเผินมันก็แทบจะไม่มีอะไรเลย นอกจากคนสองคนคุยกัน ซึ่งพูดได้เลยว่า สมแล้วกับการได้รางวัล Oscar นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมมากอดไว้


สิ่งสุดท้ายที่จะพูดถึงนั้นก็คือ Theme หรือ ข้อความของภาพยนตร์  ซึ่งเป็นข้อความที่หนักแน่นมากๆของภาพยนตร์จากการเล่าเรื่องที่ไหลไปเป็นธรรมชาติของสองพี่น้องโคเอน และไม่ทำให้รู้สึกว่าตัวภาพยนตร์จงใจเกินไปในเกือบทุกช่วง
No Country For Old Men เป็นภาพยนตร์ที่พูดถึง ความ"วิปริต"ของโลก , ของมนุษย์ และ ความ"โง่เขลา เย่อหยิ่ง"ของมนุษย์ตัวเล็กๆซึ่งพยายามที่จะควบคุมสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ หลายๆครั้งที่มนุษย์อย่างเราๆ นั้นตั้งคำถามว่า "ทำไมมันจะต้องเป็นเช่นนั้น , ทำไมมันจะต้องเป็นเช่นนี้ , ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้น" และพยายามที่จะไปวาดกรอบให้กับมันในหลายๆสิ่งหลายๆอย่าง พยายามหาเหตุผลในหลายๆสิ่งหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกฏหมาย ศีลธรรม ความคิดต่างๆนาๆ หลายๆครั้งที่เรากับพบว่า เราไม่เข้าใจมันว่าทำไมมันเป็นเช่นนั้น หรือผลออกมาเป็นเช่นนั้น ซึ่งนั้นก็คือตัวละครของ Javier Bardem ในภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นเอง การที่เขาฆ่าคนอย่างไร้เหตุผลในหลายๆครั้ง เขาทำก็เพราะ"เขาอยากทำ" หรือแม้กระทั่งฆาตกร หรือแม้กระทั่งคนทั่วไปอย่างเราๆ ที่บางครั้งเราก็หาเหตุผลไม่ได้ ว่าเราทำอะไรบางอย่างไปทำไม หรือ ตัวละครของ Josh Brolin ซึ่งก็คือตัวแทนของมนุษย์ผู้ซึ่งไหลไปตามธรรมชาติ และ ตัวละครของ Tommy Lee Jones ที่เป็นมนุษย์ผู้ซึ่งพยายามที่จะตีกรอบและควบคุมบางสิ่งบางอย่าง นั้นคือสิ่งที่ตัวภาพยนตร์นั้นต้องการจะบอกกับผู้ชม "จงอย่าพยายามที่จะไปควบคุมมัน เพราะ ไม่ใช่ทุกอย่างที่เราจะควบคุมได้ บางสิ่งบางอย่างและบางครั้ง มันก็เป็นไปตามของมันโดยปราศจากและไร้เหตุผล" 



No Country For Old Men เป็นภาพยนตร์ที่เกือบที่จะ"Perfect" แล้วในทุกๆด้าน แต่ก็ยังมีส่วนเล็กๆบ้างที่ยังคงย้ำอยู่กับที่บ่อยจนเกินไปหรือจงใจมากจนเกินไป แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่า ไม่มีสิ่งใดๆหรือภาพยนตร์เรื่องใดๆบนโลกที่ "Perfect" สำหรับ No Country For Old Men กฏนี้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ในท้ายที่สุดแล้ว มันก็ยังคงเป็นภาพยนตร์ระดับ "Classic" ขึ้นหึ้งได้อย่างง่ายดาย ด้วยฝีมือการกำกับระดับมหากาฬของสองพี่น้องโคเอน และ นักแสดงระดับแนวหน้าที่แสดงและถ่ายทอดข้อความออกมาได้อย่างน่าทึ่ง น่าชื่นชม  




Final Score : [ A + ] & [ Must See Badge ]